ประกันภัยรถมีกี่ประเภท
ประกันภัยรถมีกี่ประเภท
การประกันภัยรถยนต์ในบ้านเรานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การประกันภัยตามภาคบังคับของกฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือที่เราเรียกว่า พ.ร.บ. ประกันภัยบุคคลที่ 3 กฎหมายฉบับนี้ทำให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยตามที่กฎหมายระบุไว้
2.การทำประกันภัยรถยนต์อีกประเภทหนึ่งที่ทำตามความสมัครใจของเจ้าของรถ โดยการทำประกันภัยแบบนี้ตจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ
- ประกันภัยประเภท 1 บริษัทจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวรถยนต์ หรืออุปกรณติดประจำรถ รวมถึงความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ประกันภัยประเภท 3 บริษัทจะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเท่านั้น ส่วนตัวรถคันที่เอาประกันภัยผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง
การประกันภัย คือ การทำสัญญา ที่ผู้เอาประกันภัย โอนการเสี่ยงภัยของตน ไปยังผู้รับประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้ผู้รับประกันภัย เรียกว่า เบี้ยประกัน และเมื่อเกิดเหตุหรือภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับประกันก็จะจ่ายสินไหมทดแทน หรือเงินผู้เอาประกันภัย เป็นการทดแทนความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ
การประกันภัยรถยนต์ก็คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งได้แก่
- ความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อรถยนต์
- ความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก ไม่วาจะเป็นความบาดเจ็บทางร่างกาย และความเสียหายของทรัพย์สิน รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือลงจากรถยนต์ที่ได้ทำประกันเอาไว้
คุ้มครองอย่างไร
การทำประกันภัยรถยนต์ กับบริษัทประกันภัย จะมีลักษณะของการคุ้มครองอยู่ 3 ประเภท
1. ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือการคุ้มครองประเภท 3- การทำประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองต่อกรณีเหล่านี้
- ความบาดเจ็บพร้อมมรณะของบุคคลภายนอก ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีแพ่ง
- ความบาดเจ็บพร้อมมรณะของบุคคลภายนอก
- ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีแพ่ง
- ความเสียหาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ที่เอาประกันจากภัยทุกชนิด เช่น รถยนต์ถูกโจรกรรม การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อการร้าย การกระทำมุ่งร้าย ไฟไหม้ ระเบิด และภัยจากธรรมชาติ ยกเว้น การชน หรอคว่ำ การลักทรัพย์โดยลูกจ้าง การลักทรัพย์ส่วนควบ หรืออุปกรณ์